องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

.

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย- ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร
28.ม.ค..2556
Rate this item
(1 Vote)

ความเป็นมา

 

อพท. มีภารกิจด้านการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ โดยจะต้องพัฒนา “ต้นแบบ” การบริหารจัดการพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งได้เลือกพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร เป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนประเภทของแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน

อพท. จึงได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร เพื่อพิจารณาการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยจะใช้เป็น “ต้นแบบ” ของการบริหารจัดการพื้นที่พิเศษแหล่งท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์ ด้วยการให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ผ่านการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในท้องถิ่นรวม ๑๕ ครั้ง ในพื้นที่ ๑๙ ตำบล มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น ๑,๓๔๒ คน โดยผลของความคิดเห็นร้อยละ ๙๙.๔๘ เห็นชอบให้ประกาศพื้นที่พิเศษฯ เพื่อให้ อพท.ทำหน้าที่ประสานและบูรณาการนโยบายแผนงาน และโครงการของหน่วยงานต่างๆ

อพท. เสนอผลการศึกษาความเหมาะสมการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร และผลการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น ต่อคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (กพท.) เพื่อพิจารณา ในการประชุม กพท. ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๓ เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ กพท. มีมติให้ความเห็นชอบในการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร และให้เสนอต่อ ครม.ตามขั้นตอนต่อไป

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษของพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร ซึ่งอยู่ระหว่างการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษในราชกิจจานุเบกษา

การศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ

การศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร ประกอบด้วย

    • ข้อมูลพื้นฐานของอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้แก่ การศึกษาความเป็นมาด้านประวัติศาสตร์ การขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก สภาพทั่วไปในปัจจุบันของแต่ละอุทยานฯ
    • พื้นที่เป้าหมายการศึกษาความเหมาะสม ประกอบด้วยพื้นที่ศึกษา 2 ส่วนด้วยกัน คือ 1) บริเวณที่เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศาสนสถาน 2) บริเวณที่เป็นพื้นที่ควรค่าแก่การเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาค้นคว้าและถ่ายทอดความรู้ไปสู่ประชาชน และเพื่อรองรับการพัฒนาเมืองอันเนื่องมาจากการท่องเที่ยว
    • ลักษณะทั่วไปของที่ตั้งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร ประกอบด้วยลักษณะทั่วไปของพื้นที่ ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจกับการท่องเที่ยวของจังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร
    • สภาพปัญหาการบริหารจัดการในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและพื้นที่เชื่อมโยง ประกอบด้วยการวิเคราะห์สภาพปัญหาจากการศึกษาที่ผ่านมา และการวิเคราะห์สภาพปัญหาจากสภาพพื้นที่และชุมชนในปัจจุบัน 

 

ยุทธศาสตร์และแผนของพื้นที่

การศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร มีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาข้อมูลการบริหารจัดการในพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง ทั้งนโยบายและยุทธศาสาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง กฎหมายและอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง บทสรุปและการวิเคราะห์ทิศทางการพัฒนาพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง จากองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    • การทบทวนนโยบายและยุทธศาสตร์ในพื้นที่ศึกษา ได้ทำการรวบรวมข้อมูลทั้งระดับนานาชาติ ระดับชาติ ระดับภาค และระดับจังหวัด
    • ข้อเสนอแนะทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์สถานภาพแนวโน้มและนโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนแม่บทการพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์และแผนพัฒนาจังหวัดที่ศึกษามาในอดีต ตลอดจนแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกขององค์การยูเนสโก
    • กฎหมายและอนุสัญญาที่เกี่ยวข้อง
    • บทสรุปและการวิเคราะห์ทิศทางการพัฒนาพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง จากองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

กระบวนการมีส่วนร่วม

          อพท. ได้ดำเนินการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการจัดประชุมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายใต้ฐานข้อมูลจากการศึกษาความเหมาะสมที่ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการประชุม ซึ่งได้ดำเนินการจัดการประชุมใหญ่จำนวน 3 ครั้ง และการจัดการประชุมย่อยในแต่ละตำบลที่ศึกษาจำนวน 12 ครั้ง รวมทั้งหมด 15 ครั้ง ซึ่งได้แจกแบบสอบถามให้กับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อสำรวจความคิดเห็นในด้านต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่ ผลจากการที่อุทยานฯ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ปัญหาด้านต่างๆ ที่ควรได้รับการแก้ไข การส่งเสริมการท่องเที่ยว และความเห็นชอบให้ประกาศเขตพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สรุปผลการประชุมแต่ละครั้งสามารถศึกษาได้ไฟล์ดาวน์โหลด สรุปผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้ง 15 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 1,342 คน ผลปรากฏว่าผู้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 99.48 เห็นด้วยที่จะให้ อพท. เป็นหน่วยงานกลางในการประสานและบูรณาการนโยบายของหน่วยงานต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งพื้นที่ 

         พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย – ศรีสัชนาลัย – กำแพงเพชร ประกาศเป็นพื้นที่พิเศษในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 หน้า 25 เล่ม 128 ตอนพิเศษ 76 ง

 (ดาวนโหลดไฟล์ราชกิจจานุเบกษา)

 

เอกสารประกอบ

Read 12154 times

 mts tat link main01 unwto

gstcouncil dastaarea1 dastaarea3 dastaarea4 

dastaarea5  dastaarea6 dastaarea7 

 

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 

๑๑๘/๑ อาคารทิปโก้ ชั้น ๓๐-๓๑ ถนนพระราม ๖ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๓๕๗ ๓๕๘๐-๗

โทรสาร : ๐ ๒๓๕๗ ๓๕๙๙

อีเมล : contact@dasta.or.th

Template Settings

Color

For each color, the params below will be given default values
Blue Dark_Blue Cyan Purple Green Tomato Yellow

Body

Background Color
Text Color

Spotlight10

Background Color

Footer

Note: Layout Contact-Us is applied only for menu Contact Us and menu About Us.
Select menu
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Direction