องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

.

แนวทางการดำเนินงานแนวทางการพัฒนายุวชน อพท.
24.มี.ค..2556
Rate this item
(0 votes)

แนวทางการดำเนินงานแนวทางการพัฒนายุวชน อพท.

การดำเนินการพัฒนาเยาวชนแบ่งออกเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่

๑. การสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้เยาวชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่าย โดยการเชิญนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่พิเศษเข้ารับการอบรมภายใต้โครงการที่จัดโดย อพท. ทั้งนี้การเข้าค่ายแต่ละรุ่นจะมีการผสมผสานนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ เพื่อได้รู้จักกันและมีความคุ้นเคยเพื่อวันข้างหน้าที่พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะสามารถช่วยเหลือการทำงานซึ่งกันและกันได้ ในขั้นตอนนี้จะมีการพิจารณาหาเยาวชนที่มีความความเป็นผู้นำ เพื่อชักชวนมาเป็นพี่เลี้ยงค่ายเยาวชนในรุ่นต่อไป

๒. การสร้างความสามารถนำความรู้ไปบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองได้ และเป็นการพัฒนาศักยภาพเยาวชน การให้เยาวชนที่คัดเลือกทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงค่าย เพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงานทั้งหมด รวมทั้งการรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย หากเยาวชนสามารถรับผิดชอบงานได้อย่างครบถ้วนก็จะเชิญมาเป็นพี่เลี้ยงในรุ่นต่อๆ ไป รวมทั้งให้เยาวชนเสนอโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเอง โดย อพท. จะร่วมดำเนินการโครงการที่เยาวชนเสนอมาให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

๓. การสร้างแกนนำเยาวชน เป็นการพิจารณาคัดเลือกเยาวชนจากขั้นตอนที่ ๒ ที่ได้มีการเสนอโครงการที่นำความรู้ไปใช้ในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเองหลังจากจบการอบรม และขอรับการสนับสนุนจาก อพท. ทั้งนี้ อพท. จะร่วมดำเนินการโครงการที่เยาวชนเสนอมาให้เกิดเป็นรูปธรรมและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งเยาวชนที่เสนอโครงการเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นกลุ่มเยาวชนที่เป็นแกนนำเยาวชน มีความเป็นผู้นำในการคิดริเริ่ม การแสดงออก มีความรับผิดชอบต่อโครงการที่นำเสนอโดยการ สามารถขับเคลื่อนโครงการได้จนเสร็จสิ้นตามวัตถุประสงค์โครงการ อพท. จะแต่งตั้งเป็น “ยุวชน อพท.” เพื่อเป็นตัวแทน อพท. ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน รวมทั้งเป็นการส่งผ่านความรู้เข้าถึงชุมชนอีกช่องทาง

๔. สนับสนุนการดำเนินงานของ “ยุวชน อพท.” ซึ่งดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง ตั้งแต่การคิด จัดทำและเสนอโครงการ ร่วมกับชุมชน การดำเนินการกิจกรรม โดย อพท. จะเป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อที่ “ยุวชน อพท.” เติบโตจะสามารถเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน และเป็นตัวแทนของชุมชนที่จะร่วมกันทำงานกับ อพท. ในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างเข้มแข็งและเข้าใจถึงการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี

แนวทางการพัฒนายุวชน อพท.

       การพัฒนายุวชนของ อพท. ที่ได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลา ๓ ปี ทำให้ได้รูปแบบของการพัฒนาเยาวชนที่จะนำไปใช้กับเยาวชนในพื้นที่พิเศษอื่นต่อไป โดยดำเนินการพัฒนา ๔ ขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว การให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ฝึกฝนให้สามารถคิดและเขียน การเสนอความคิดและรับฟังความเห็นของชุมชนเพื่อรู้จักการทำงานร่วมกับชุมชน และเป็นการเตรียมความพร้อมของเยาวชนที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต การพัฒนาแกนนำเยาวชนจะเป็นการนำเยาวชนเข้ารับการอบรมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยื่นร่วมกับผู้นำชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้เยาวชนและผู้นำชุมชนได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการร่วมกันคิดโครงการพัฒนาชุมชนของตนเองระหว่างที่ได้รับการอบรมองค์ความรู้ต่างๆ และเป็นการสร้างการยอมรับของผู้นำชุมชนให้ยอมรับความสามารถของเยาวชน อพท. สามารถเป็นแกนนำในการดำเนินการกิจกรรมบางอย่างได้ โดยเน้นที่การดูแลสิ่งแวดล้อมของชุมชน

         โครงการที่แกนนำเยาวชนเสนอจะเป็นโครงการที่นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาใช้ในการจัดการร่วมกับชุมชน เป็นการคิดโครงการร่วมกันกับชุมชนโดยมีแกนนำเยาวชน อพท. เป็นผู้ขับเคลื่อน หรือเป็นโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่แกนนำเยาวชน อพท. ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นน้อง หรือ คนในชุมชน และในปีต่อๆ ไปแกนนำเหล่านี้ก็จะดำเนินการร่วมกับชุมชนในการคิดโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมหรือแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อเป็นการรักษาสมดุล ๓ มิติ ที่เป็นเสาหลัก คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เนื่องจากกระแสการท่องเที่ยวมุ่งเน้นการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว การสร้างรายได้ และการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ก่อให้เกิดผลลบต่อชุมชน ทั้งเรื่องความแตกต่างและช่องว่างของฐานะทางเศรษฐกิจ ความเสื่อมโทรมทางศิลปะ การสูญหายทางวัฒนธรรม ปัญหาสังคม ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องมีการแก้ไขตามปัญหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น อพท. จึงได้เน้นการพัฒนาด้านสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาสมดุลทั้ง ๓ มิติ หากมีการโตของมิติเพียงด้านเดียวจะทำให้ชุมชนนั้นเกิดการเสียสมดุลและนำไปสู่ความล้มเหลวในการพัฒนาชุมชน

        จากการดำเนินงานได้ก่อให้เกิดองค์ความรู้มากมายจากการทำงานร่วมกัน จึงได้มีการรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่เกิดจากการทำงาน และจัดทำเป็นคู่มือสำหรับการพัฒนาเยาวชน รวมทั้งเป็นคู่มือประจำตัวของเยาวชนในพื้นที่พิเศษ

 

 

 

Read 3876 times

 mts tat link main01 unwto

gstcouncil dastaarea1 dastaarea3 dastaarea4 

dastaarea5  dastaarea6 dastaarea7 

 

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) 

๑๑๘/๑ อาคารทิปโก้ ชั้น ๓๐-๓๑ ถนนพระราม ๖ แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๓๕๗ ๓๕๘๐-๗

โทรสาร : ๐ ๒๓๕๗ ๓๕๙๙

อีเมล : contact@dasta.or.th

Template Settings

Color

For each color, the params below will be given default values
Blue Dark_Blue Cyan Purple Green Tomato Yellow

Body

Background Color
Text Color

Spotlight10

Background Color

Footer

Note: Layout Contact-Us is applied only for menu Contact Us and menu About Us.
Select menu
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Direction